
เสริมเกราะป้องกันให้ตัวเองสู้สภาวะสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ
เมื่อพูดถึงอาหารที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สิ่งแรกที่หลายคนมักจะนึกถึงก็คือ วิตามินซี ซึ่งจริง ๆ แล้วในด้านโภชนาการ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อโรค สารพิษและสิ่งแปลกปลอมที่เป็นอันตรายต่อร่างกายนั้น คือการที่มีภาวะโภชนาการที่ดีได้รับพลังงาน สารอาหารหลักทั้ง โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และสารอาหารรอง ทั้งวิตามิน A, C, E, D, B6, B9 (โฟเลต), B12 และแร่ธาตุสังกะสี ซีลีเนียม เหล็กทองแดง แมกนีเซียม และแมงกานีส รวมทั้งดื่มน้ำสะอาดที่เพียงพอและสมดุลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการจะรับประทานอาหารให้ได้ครบทั้งสารอาหารหลัก และสารอาหารรองดังกล่าวให้เพียงพอนั้น เราสามารถเลือกรับประทานได้จากแหล่งอาหารธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องรับประทานในรูปแบบอาหารเสริมแต่อย่างใด เพราะยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันว่าวิตามินหรือแร่ธาตุตัวไหนจะป้องกันการติดเชื้อโคโรนาไวรัสได้ แต่เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพและเป็นแนวทางในการเลือกแหล่งอาหารที่ดี และมีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน ขอหยิบยกสารอาหารตัวเด่น ๆ ที่มีบทบาทต่อภูมิต้านทานดังนี้ค่ะ
วิตามินซี

เมื่อร่างกายของคุณต่อสู้กับการติดเชื้อจะเกิดภาวะเครียดที่เกิดจากออกซิเดชัน (Oxidation stress) นำไปสู่การผลิตสารอนุมูลอิสระ (free radicals) ที่สามารถทำลายเนื้อเยื่อและก่อให้เกิดการอักเสบที่รุนแรงได้ วิตามินซี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระสามารถช่วยปกป้องเซลล์จากภาวะดังกล่าว (free radicals) ที่สามารถทำลายเนื้อเยื่อและก่อให้เกิดการอักเสบที่รุนแรงได้
นอกจากนี้ วิตามินซี ยังช่วยสนับสนุนการผลิตเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิล (neutrophils) เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ (lymphocytes) และเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดฟาโกไซต์ (phagocytes) โดยความต้องการต่อวันตามข้อกำหนดปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563 ในเด็กและวัยรุ่นช่วงอายุ 9-18 ปี ควรได้รับ 60-100 มิลลิกรัมต่อวัน และวัยผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไป ควรได้รับ 85-100 มิลลิกรัมต่อวัน
แหล่งวิตามินซีสูง ได้แก่ ผักผลไม้ต่าง ๆ เช่น ฝรั่ง พริกหวาน มะขามป้อม ผักคะน้า มะขามเทศ มะระขี้นก เงาะ บร็อคโคลี มะละกอ ดอกกะหล่ำ ส้มโอ ถั่วลันเตา เป็นต้น
วิตามินบี

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง B6, B9 และ B12 เป็นหน่วยสนับสนุนการตอบสนองแรกของร่างกายเมื่อได้รับเชื้อก่อโรค โดยวิตามินบีจะช่วยสนับสนุนการผลิตและกิจกรรมของเซลล์นักฆ่า (natural killer cell) ของร่างกาย โดยเซลล์นักฆ่าจะทำงานโดยการที่ทำให้เซลล์ที่ติดเชื้อเปลี่ยนแปลงรูปร่างและเกิดการแตกหักของสายดีเอ็นเอซึ่งเป็นกระบวนการที่เรียกว่า “apoptosis”
แหล่งสารอาหารของวิตามินบี 6 พบได้ในธัญพืชพืชตระกูลถั่ว ผักใบเขียว ผลไม้ ถั่ว ปลา ไก่และเนื้อสัตว์ สำหรับวิตามินบี 9 (หรือโฟเลต) จะพบมากในผักใบเขียว พืชตระกูลถั่ว ถั่วและเมล็ดพืช และวิตามินบี 12 (cyanocobalamin) จะพบได้ในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น ไข่ เนื้อสัตว์ นมและในนมถั่วเหลืองเสริม
วิตามินอี
