Blog_2022-08-01_BIO-AZ_TH

เลือกรับประทานสิ่งที่ดี เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันห่างไกลภาวะลองโควิด (Long COVID)

“Long COVID” หรือ “ลองโควิด” ภาวะที่หลายคนอาจประสบพบเจอ แม้ว่าจะเข้าทำรักษาจนหายดีจากโควิด-19 แล้วก็ตาม ซึ่งภาวะลองโควิด นั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้ประมาณ 30-50% ของจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว เป็นอาการที่หลงเหลือจากการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งจะมีความแตกต่างกัน ตรงที่สามารถแสดงอาการได้ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

วิธีการสังเกตอาการ Long COVID ในเบื้องต้น

อาการของผู้ป่วย Long COVID  อาจเกิดหลังจากที่ได้รับเชื้อและหายจากอาการป่วยโควิด-19 มาแล้ว 4-12 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งคุณสามารถเช็กได้ว่ากำลังประสบกับอาการเหล่านี้อยู่หรือเปล่า โดยสามารถแบ่งออกเป็น

ด้านร่างกาย

  • อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • มีไข้ ไอเรื้อรัง ปวดหัว เจ็บคอ
  • ใจสั่น รู้สึกแน่นหรืออึดอัดบริเวณหน้าอก
  • ปวดตามข้อต่อต่าง ๆ
  • มีการรับรสหรือได้กลิ่นน้อยลง
  • เวียนศีรษะ
  • ความจำสั้น สมาธิสั้น หรือรู้สึกสมองล้า (Brain Fog Syndrome)
  • ปวดท้อง ท้องเสีย ไม่อยากอาหาร
  • มีผื่นขึ้นตามตัว

ด้านจิตใจ

  • อ่อนไหวกับสถานการณ์ที่กระทบจิตใจได้ง่าย
  • อาจมีภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวล (Post-Traumatic Stress Disorder)
  • เกิดภาวะนอนหลับยาก

หากคุณหรือคนใกล้ชิดกำลังเผชิญกับอาการลองโควิดจากข้างต้นแล้ว การฟื้นฟูร่างกายหลังติดโควิดด้วยการสร้างภูมิคุ้มกันจึงทางเลือกที่เราสามารถทำได้เลย

เลือกทานสิ่งที่ดี เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันห่างไกล Long COVID

จากคำแนะนำของนายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย ได้กล่าวถึงการรักษาอาการของผู้ป่วยลองโควิด-19 ถึงการฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาแข็งแรง ด้วยการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ที่เริ่มต้นอย่างง่าย ๆ

  1. กินอาหารที่ดีมีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารย่อยง่าย เนื่องจากอาจมีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร และควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่ไม่ดีต่อสุขภาพ อาทิ อาหารสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง อาหารหมักดอง อาหารปิ้งย่าง ของทอด ของมัน หรืออาหารรสจัด ย่อยยาก รวมทั้งควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาหารเหล่านี้มีผลทำให้ภูมิคุ้มกันลดต่ำลง
  2. หากมีอาการเบื่ออาหาร ควรแบ่งอาหารเป็นมื้อย่อย ๆ เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ตลอดวัน ไม่ให้ร่างกายอ่อนล้า อ่อนเพลีย
  3. ควรบริโภคอาหารที่มีจุลินทรีย์ดี หรือโพรไบโอติก (Probiotic) เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว โดยควรเลือกชนิดที่มีนํ้าตาลน้อย และกินร่วมกับอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง กล้วย หัวหอมใหญ่ กระเทียม เป็นต้น เพื่อเป็นอาหารให้จุลินทรีย์สุขภาพ และยังช่วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  4. การฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาแข็งแรงและมีภูมิคุ้มกัน ควรเสริมด้วยเหล่าวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิตามิน C, A, D, E และแร่ธาตุสังกะสี (Zinc) ซึ่งสามารถพบได้ในพวกผัก ผลไม้ ธัญพืช ปลา เนื้อ นม ไข่

ท้ายสุดนี้การป้องกันการเกิดภาวะอาการลองโควิดนั้นเราสามารถเริ่มต้นได้ที่การเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ นอกจากการทานให้ครบ 5 หมู่แล้ว เราไม่ควรมองข้ามอาหารจำพวกโพรไบโอติกและวิตามินรวม หรือพวกวิตามินเสริม เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญในการฟื้นฟูร่างกายและกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้อาการที่เกิดหลังจากการหายโควิด-19 บรรเทาลง ควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของตนเอง หากมีอาการที่แย่ลง ควรรีบกลับมาพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุและรักษาต่อไป ด้วยความปรารถนาดีจาก พาราไดม์ ฟาร์มา